รับฟังการบรรยายจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์โรจนา ศุขะพันธุ์
เรื่องบุคลิกภาพ และการพัฒนาบุคลิกภาพ
ได้รับความรู้ในเรื่องต่างๆ เช่น

  • คุณลักษณะของนักศึกษา
    - บุคลิกดี
    มีน้ำใจ
    - ใฝ่หาความรู้
    - เชิดชูองค์กร
    - สมานสามัคคี
  • ความหมายของบุคลิกภาพ
  • ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพ
    - วัฒนธรรมกับสิ่งแวดล้อม
    - สถานะทางเศรษฐกิจสังคม
    - แบบแผนของสถาบัน/ชุมชน/สังคม
    - ค่านิยม/หลักการ/ปรัชญาในการใช้ชีวิต
    - สุขภาพจิต
    - การศึกษา
  • ความสำคัญของการมีบุคลิกภาพที่ดี
    - มีความสามารถในการทำงาน
    - มีความรักและความผูกพันธ์
  • องค์ประกอบของบุคลิกภาพที่ดี
    - สุขภาพ
    - เสียงพูด
    - กิริยาท่าทาง
    - การแต่งกาย
  • องค์ประกอบของบุคลิกภาพ
    - ลักษณะทางกาย
    - ลักษณะทางอารมณ์
    - ลักษณะทางสังคม

รับฟังการบรรยายจากบริษัทหลักทรัพย์ ซิกโก จำกัด (มหาชน)
SICCO Securities Public Company Limited
เรื่องการบริหารการเงินส่วนบุคคล

ได้รับความรู้ในเรื่องต่างๆ เช่น

  • เพิ่มรายได้อย่างไร
    - ตั้งเป้าหมาย/ประเมินตนเองเสมอ
    - รักในงาน
    - ปิดโอกาส/ทำโอกาสให้ตนเองเสมอ
  • ลดรายจ่าย
    - ทำบัญชีครัวเรือน
    - เศรษฐกิจพอเพียง
    - วินัยกับนิสัย
  • ประเด็นที่น่าสนใจ
    - การลงทุนในบ้าน/รถ
    - เงินต่อเงิน
  • ทำไมต้องลงทุน…..ออมอย่างเดียวไม่ได้
  • อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง/ [Real Interest Flute]
  • ทางลัดสู้ความมั่งคั่ง/การลงทุน
  • ทางเลือกในการลงทุน
  • กองทุนรวม

รับฟังการบรรยายจาก อาจารย์ปรมัตถ์ปัญปรัชญ์ ต้องประสงค์
เรื่องการฝึกภาษาอังกฤษและสารสนเทศ
ได้รับความรู้ในเรื่องต่างๆ เช่น
  • การพูด, เขียน/ การอ่าน, การฟัง
  • ยุคการเรียนรู้
    - ยุคสมัยทางสังคม/เทคโนโลยี
    - ยุคเกษตรกรรม/ยุคอุตสาหกรรม
    - ยุคสารสนเทศ/ยุคความรู้และปัญญา
  • การสร้าง Blog / WebBlog
  • วิธี 7 วิธีสร้าง Blog
    - Design
    - Content/Context
    - Reader
    - Comment
    - Websites Standard
    - Schedule
    - Image/Pictures/Multimedia
  • วิธีการทำ Blog
    - Blogger.com
    - Livejournal.com
    - TypePad.com

รับฟังการบรรยายจาก อาจารย์
" เรื่องประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต "

ปฐมนิเทศนักศึกษา ณ อาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถนนสิรินธร

เตรียมฝึกวันพุธที่ 18/6/2551
เตรียมฝึกวันพุธที่ 25/6/2551
เตรียมฝึกวันพุธที่ 2/7/2551
เตรียมฝึกวันพุธที่ 9/7/2551

พบอาจารย์ที่โรงยิม อาจารย์ชี้แจงรูปแบบการเรียนการสอน
การเรียนเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ และตรวจเครื่องแบบนักศึกษา

ฝึกคิดให้จิตเป็นอิสระ

คนที่มีหน้าที่การงานมาก มีทรัพย์สินเงินทองสมบัติมาก ก็จะยิ่งมีภาระปัญหามากมาย ไม่รู้จักจบสิ้น แก้ไขเท่าไรก็ไม่หมดเรื่องสักที บางคนเครียดมากคิดมาก จึงทำให้ชีวิตมีแต่ความทุกข์ หาความสุขไม่พบ ทำให้เป็นโรคเจ็บป่วยสารพัด ถ้าเราต้องการให้ชีวิตมีความสุข ไม่เจ็บป่วย ก็ต้องรีบเร่งสนใจ ตั้งใจเรียนรู้ธรรมะ ก็คือ การศึกษาในเรื่อง ชีวิต ร่างกาย และ จิตใจ ให้รู้เห็นด้วยปัญญา ในสภาพความเป็นจริง (ธรรมะ คือ การกระทำ คำพูด ความรู้สึกนึกคิด ที่ถูกต้อง ไม่ทำให้ตัวเองและผู้อื่น เดือดร้อนใจ) ถ้าเราคิดผิด ก็จะทำให้เราทุกข์ใจ การคิดผิด คือ คิดแต่จะอยากได้ อยากจะเอาสิ่งต่าง ๆ มาเป็นของตัวเอง คิดอยากจะมี จะเป็น อยากจะร่ำรวยมีเงินมาก ๆ จึงเป็นสาเหตุที่เกิดของทุกข์ใจ ไม่สบายใจ แต่ถ้าเราคิดให้ถูกต้อง ก็เบาสบายใจ ไม่วิตกกังวล ไม่เดือดร้อน การคิดให้ถูกต้อง คือ คิดเพื่อที่จะปลดปล่อยผ่อนคลาย ละวางเรื่องราวปัญหาต่าง ๆ ที่มันจับเกาะกินอยู่ในใจเรา เพื่อให้จิตใจโล่งโปร่งเบาสบาย เป็นอิสระเสรี ไม่มีเครื่องร้อยรัดผูกพัน ยึดติดอยู่ในจิตใจ จึงทำให้จิตนั้นว่างเปล่า เป็นกลาง ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่กลุ้มใจ ไม่เครียด จึงเป็นจิตที่หลุดรอด หลุดพ้นจากปัญหา และ ความทุกข์ โดยสิ้นเชิง

ชีวิตเสรี
พระอาจารย์ยุทธนา เตชปัญโญ


1. ศัตรูที่น่าสะพรึงกลัวที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ตัวเราเอง

2. ความล้มเหลวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความอวดดี

3. การกระทำที่โง่เขลาที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การหลอกลวง

4. สิ่งที่แสนสาหัสที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความอิจฉาริษยา

5. ความผิดพลาดมหันต์ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การยอมแพ้ตัวเอง

6. สิ่งที่เป็นอกุศลที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การหลอกตัวเอง

7. สิ่งที่น่าสังเวชที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความถดถอยของตัวเอง

8. สิ่งที่น่าสรรเสริญที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความอุตสาหะ วิริยะ

9. ความล้มละลายที่สุดในชีวิตเรา ก็คือความสิ้นหวัง

10. ทรัพย์สมบัติที่มีค่ามากที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ สุขภาพที่สมบูรณ์

11. หนี้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ หนี้บุญคุณ

12. ของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การให้อภัยและความเมตตากรุณา

13. ข้อบกพร่องที่ใหญ่หลวงที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การมองโลกในแง่ร้ายและไร้เหตุผล

14. สิ่งที่ทำให้อิ่มอกอิ่มใจที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การให้ทาน

จะเห็นว่าในปัจจุบันเราได้ยินคำว่า “ต้นแบบ” ในวงการศึกษามากมาย ที่ได้ยินบ่อยมาก คือ “ครูต้นแบบ” ต่อมาก็มี โรงเรียนต้นแบบ ศึกษานิเทศก์ต้นแบบ และ ต่อ ๆ ไปก็จะมี ผู้บริหารต้นแบบ นักเรียนต้นแบบ ผู้ปกครองต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ ภารโรงต้นแบบ ฯลฯ
มีใครเคยสงสัยไหมว่า “ต้นแบบ” คืออะไร ทำไมต้องมีครูต้นแบบ เกิดประโยชน์อะไรถึงจะต้องคัดเลือกกันด้วยกระบวนการยุ่งยาก ซับซ้อน ประเมินแล้วประเมินเล่า เสียงบประมาณมากมาย มีหลายหน่วยงานทำเรื่องเดียวกัน จนกลายเป็นว่า ต้นแบบของใครจะดีกว่า ? แล้วก็ได้ต้นแบบมาไม่ถึง 5% ของครูทั้งหมด มีการยกย่องเชิดชู เผยแพร่ ออกข่าววิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ แล้วคนที่ไม่ได้เป็นต้นแบบ จะได้อะไร รู้สึกรู้สาอะไรกับ “ต้นแบบ”
เป็นโอกาสดีของผู้เขียนได้ไปร่วมเทิดพระเกียรติสมเด็จย่า กับรองศาสตราจารย์ บุญนำ ทานสัมฤทธิ์ ในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพครบ 101 ปี ณ อาคาร 3 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2544 มีวิทยากรที่ทรงคุณงามความดี ความรู้ ภูมิปัญญาชั้นนำของประเทศหลายท่าน และมีท่านหนึ่งได้พูดเรื่อง “ต้นแบบ” ว่า พระมหากษัตริย์ของเรามี “ต้นแบบ” ที่ทรงคุณมหาศาลที่หล่อหลอมพระองค์ท่านให้เป็นกษัตริย์ที่สถิตย์ในดวงใจของปวงชนชาวไทย นั่นคือ “สมเด็จย่า” แม้ว่าสมเด็จย่า จะจากพวกเราไป แต่พระองค์ฝากสิ่งที่สำคัญยิ่งไว้ให้ชาวโลกแล้ว วิทยากรที่กล่าวถึงคือ พระเทพโสภณ (ประยูร ธมมจิตโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
พระคุณเจ้าได้สรุปความสำคัญของคำว่า “ต้นแบบ” ว่ามี 2 นัย
นัยแรกคือต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่าง ศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ ต่อมาก็อาจ ประยุกต์แบบ
นัยที่สองคือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรสิ่งดีงาม ต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ ไม่ต้องสอนกันตรง ๆ เพียงแค่ผู้ดูแบบ....ได้เห็น... ได้รับฟังต่อ ๆ กันมาได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติ ศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ แม้ไม่รู้จัก แม้เพียงแค่มอง ผู้ดูแบบก็ได้อานิสงส์มากมาย “แค่อยู่ให้เห็นก็เป็นแรงบันดาลใจมหาศาล”
พระคุณเจ้ายังกล่าวถึงการศึกษาด้วยว่า การศึกษาถ้าไม่มีแบบอย่างที่ดีเป็นไปไม่ได้ การศึกษาเป็นระบบกัลยาณมิตร เป็นพรหมจรรย์ การมีต้นแบบที่ดีย่อมเป็นกำลังใจ ครูควรต้องเป็นแบบอย่างที่ดีชี้นำทางสว่างแก่ศิษย์ ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ ต้นแบบสอนให้รู้ ต้นแบบทำให้ดู และต้นแบบอยู่ให้เห็น หากครูเป็นต้นแบบที่ดี เป็นกัลยาณมิตรของศิษย์และเพื่อนครู ก็ย่อมจะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เกิดครูดี ศิษย์ดีต่อเนื่องขยายวงต่อ ๆ กันไป “ผู้ที่มีวิญญาณแห่งต้นแบบการเรียนรู้ ย่อมจะไปเหน็ดเหนื่อยในการถ่ายทอด”
จุดเริ่มต้นของการเกิดแรงบันดาลใจในชีวิตผู้ดูแบบ คือการ ได้รู้ ได้ดู ได้เห็นต้นแบบ เกิดศรัทธาต่อต้นแบบ เกิดแรงบันดาลใจให้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เลียนแบบของต้นแบบ หากเราเผยแพร่ตัวแบบที่ไม่เหมาะสมต้นแบบชองการกระทำในอบายมุข ต้นแบบของการฉ้อราษฎร์ ต้นแบบของการหยาบคายในกิริยาและวาจา ต้นแบบของการประจบสอพลอ ฯลฯ สังคมจะดูต้นแบบที่น่าชื่นใจเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างคุณภาพดีแก่เยาวชน แก่ประเทศชาติจากที่ไหน
จริงอยู่ดังที่ขงจื้อกล่าวไว้ “คนดี คนเลว เป็นครูได้ทั้งหมด เพราะเมื่อเห็นคนดี ก็เลียนแบบ เห็นคนเลวก็เลียนแบบ” แต่อยากถามว่าผู้ที่จะแยกแยะดี / เลว ได้ชัดเจนต้องมีวุฒิภาวะเพียงใด เยาวชนของเราบางคนยังมีวุฒิภาวะไม่ถึงพร้อม โดยเฉพาะถ้าเห็นตัวแบบนั้นเป็นครู เป็นพ่อ – แม่ เขายิ่งอาจสับสนว่าเขาควรเลียนแบบอย่างที่เห็น ใช่หรือไม่
พวกเราชาวครูทั้งหลาย คงทราบแล้วว่า ครูต้นแบบ โรงเรียนต้นแบบ ศึกษานิเทศก์ก็ต้นแบบ และต้นแบบอีกสารพัดที่กำลังจะตามมา ทรงคุณค่าของการเป็นแบบแก่ครู และสังคมเพียงใด
ต้นแบบต้องทำงานหนักและเหนื่อยทั้งเพื่อคงรักษาการเป็นต้นแบบ อีกทั้งถ่ายทอด ขยายเครือข่ายแก่ผู้ดูแบบ ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ แต่ท่านเหล่านั้นคงไม่เหน็ดเหนื่อยต่อการสอนการเผยแพร่เพราะ.......ท่านมีวิญญาณแห่งต้นแบบ พวกเรามาร่วมเป็นกำลังใจให้ต้นแบบกันเถอะค่ะ ไม่ว่าท่านจะเป็นต้นแบบจากองค์กรไหน ท่านก็เป็นแรงบันดาลใจแก่ผู้พบเห็นได้เสมอ ทั้งที่ท่านรู้ตัวและไม่รู้ตัว ท่านได้ทำบุญอันยิ่งใหญ่นัก
สำหรับบางท่าน.......แม้ไม่มีองค์กรใดมารับรองว่าท่านเป็นต้นแบบ แม้ท่านส่งผลงานเข้ารับเลือกเป็นต้นแบบแล้ว......ท่าน ไม่ได้รับเลือก แต่ท่านอาจเป็นแรงบันดาลใจ

เป็นต้นแบบของดวงตาคู่น้อย ๆ ที่จับจ้องดูทุกกิริยาของท่าน และ

ท่านเป็นต้นแบบตั้งแต่มีเสียงเรียกท่านว่า “คุณครู”

กลอนสอนใจ

จงต่อสู้กับชีวิตไม่คิดถ้อ ไม่คิดงอมือเท้าให้เขาหยาม
สู้ด้วยความมานะพยายาม สู้ด้วยความมั่นใจชัยย่อมมี
จงกล้าหาญในการงานทั้งผอง ใจต้องมั่นจิตไม่คิดหนี
ยิ่งอุปสรรคเพียงใดใจต้องดี ต้องทวีความกล้าท้าทายมัน
ความเข้มแข็งทั้งกายและใจด้วย จักอำนวยช่วยการงานแข็งขัน
ต้องฝึกจิตฝึกกายหมายป้องกัน สารพันโรคาบรรดามีความอดทน

"ถ้าคิดจะฝันต้องทำให้สำเร็จ"

Clock